วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การเขียนเนื้อหา: ข้อแนะนำและข้อควรหลีกเลี่ยง

การเขียน ในทัศนะของมือใหม่จะดูเหมือนยาก แต่เมื่อได้เริ่มเขียน ได้รับคำติชมจากผู้รู้ จะง่ายขึ้น แต่ในทัศนะของผู้เขียน การเริ่มต้นเมื่อไรจะยากที่สุด จะเขียนหนังสือ/ตำราเป็นภาษาใดก็ได้ แต่ต้องเหมือนกันทั้งเล่ม

  • ข้อแนะนำ
    • ต้องเป็นผู้อ่านที่ดี อ่านแล้วจับใจความ ศึกษาลีลาการเขียนของผู้อื่น แต่ไม่ใช่ลอกเลียน เมื่ออ่านและศึกษามากๆ จะทำให้เรามีคลังความรู้ที่จะถ่ายทอดออกมาเป้นหนังสือได้ ในขณะค้นคว่้าเพื่อจะเขียนหนังสือ/ตำรา จะต้องมีบันทึกสั้นๆ ในสาระหลักๆของงานวิจัยชิ้นนั้นๆ เนื่องจากจะสะดวกในการนำมาประกอบขณะเขียน 
    • ต้องจัดสรรเวลา การเขียนหนังสือ จะต้องมีสมาธิ ดังนั้นเวลาจะมีความสำคัญ ควรมีเวลาต่อเนื่ิอง อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ต่อครั้ง เพื่อจะได้เขียนต่อเนื่อง ให้จบบท หรือตอน หากเขียนเป็นช่วงสั้นๆ ในวันต่อไป กว่าจะเริ่มเขียนต่อได้ จะต้องอ่านทบทวนว่าครั้งก่อนจบตรงไหน วันถัดไปจะยิ่งเสียเวลามาก ทำให้เขียนต่อยาก
    • ฝึกพิมพ์ ด้วยตนเอง จะเสียเวลาในช่วงแรกๆ แต่หากจะให้เจ้าหน้าที่ธุรการพิมพ์ให้ จะเสียเวลาในการตรวจคำผิดอีกมาก 
    • ลองเขียน ทีละบทก่อน แล้วลองให้ผู้อื่นอ่านดู ว่ามีข้อติชม ข้อเสนอแนะอะไรบ้าง ถ้าเขียนจนจบ แล้วมีผู้ติชมว่า อ่านไม่รู้เรื่องจะเสียเวลามาก
    • หัวข้อในแต่ละบท ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เช่นขึ้นต้นด้วย บทนำ จบด้วยบทสรุป หรืออาจจะมีตัวอย่างผู้ป่วยท้ายบท ก็ควรจะทำให้สม่ำเสมอ ถ้าทำได้ 
    • ศัพท์ที่ใช้ ในแต่ละบท ให้ตรงกัน เช่น คำว่า ผู้ป่วย/คนไข้  แพทย์/หมอ  ความดันเลือด/ความดันโลหิต เป็นต้น ใช้ให้เหมือนกันทั้งเล่ม
    • ศัพท์ วิชาการใช้ตามราชบัณฑิต เว้นแต่ไมมีบัญญัติไว้ หรือใช้แล้วเกิดความสับสน ก็สามารถทับศัพท์ ภาษาอังกฤษได้ หรือ หากจะแปลเป็นไทย หรือกำหนดศัพท์ใหม่ ให้เขียนพร้อมวงเล็บคำดั้งเดิมภาษาอังกฤษไว้ เมื่อเอ่ยถึงครั้งแรก ในบทนั้น การเอ่ยถึงถัดๆไป ในบทนั้น ไม่ต้องวงเล็บอีก ส่วนคำพื้นๆที่เข้าใจกันโดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องวงเล็บ เช่น ศีรษะ(head)  มือ (hand) เป็นต้น 
    • ใช้คำว่า ร้อยละ แทน เปอร์เซนต์
    • พยามยามถ่ายรูปเอง รูปผู้ป่วยจะต้องได้รับอนุญาต และต้องปกปิดส่วนสำคัญ ที่ทำให้ทราบว่าเป็นผู้ใด ใช้ภาพที่มีความละเอีดสูง เมื่อย่อให้เล็กจะชัด หากนำภาพที่มีความละเอียดต่ำมาขยายจะแตก
    • หากใช้ภาพผู้อื่นต้องขออนุญาต รวมถึงภาพของเราเองที่ส่งไปลงพิมพ์ ในวารสาร ลิขสิทธิ์ภาพนั้น เป็นของสำนักพิมพ์ เว้นแต่มีข้อยกเว้นระบุไว้
    • บรรณาธิการจะต้องทำข้อแนะนำ วางรูปแบบ และข้อกำหนดสำคัญ เช่น style การเขียนเอกสารอ้างอิง ศัพท์ที่สำคัญ ให้ผู้เขียนทุกคนทราบ
    • ชื่อบท ไม่ควรยาวกว่า 1 บรรทัด และใช้วลี ไม่ต้องผูกประโยค
    • ถ้าบทใดยาวเกินไป ให้แยกบท ออกมาอีกบทหนึ่ง ถ้าสั้นไป ให้ไปรวมกับบทอื่น
    • ถ้าจะลอกข้อความมาจาก บทความของท่านอื่น เป็น paragraft ให้ใส่เครื่องหมายคำพูด ตอนต้นและตอนจบ เพื่อแสดงให้เห็นว่า เป็นข้อความของท่านอื่น
  • ข้อควรเลี่ยง
    • เมื่อเริ่มต้น paragraph ไม่ขึ้นต้นประโยคด้วยตัวเลข หากต้องการขึ้นต้นด้วยตัวเลข ให้ใช้ข้อความนำมาสักเล็กน้อย เช่น จากการศึกษาพบว่า2ใน3ของผู้ป่วย แทนที่จะขึ้นต้นด้วย 2ใน3 ของผู้ป่วย
    • ภาษาไทย ไม่นิยม ใช้คำ กรรมวาจก คือเริ่มต้นโดยผู้ถูกกระทำ ต่างจากภาษาอังกฤษ
    • อย่าเขียนเหมือนพูด หรือบรรยาย เพราะลีลาการพูดและการเขียนจะไม่เหมือนกัน
    • ไม่พยายามอ้าง ผลงานของตนเอง จนเกินพอดี พยายามเขียนอ้อมมาจนสามารถอ้างผลงานตนเอง ทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ
    • ไม่พยายาม ขยาย font หรือ นำรูปที่ ไม่จำเป็นมาใส่ ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มจำนวนหน้า ให้ได้ 80 เท่าคำจำกัดความของคำว่าเล่ม
    • หากจะดัดแปลงรูป ตาราง ต้องดัดแปลงจริงๆ ไม่ใช่ลอกมาแล้วแจ้งว่าดัดแปลง การแปลภาษาอังกฤษ เป็นไทย ในตาราง แต่คงสาระสำคัญไว้หมด เช่น จำนวน column และ row เท่าเดิม ตัวเลขเหมือนเดิม ไม่ถือเป็นการดัดแปลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น