วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การขอตำแหน่งทางวิชาการด้วย ระเบียบเดิม

หลังจากมีประกาศ ระเบียบ กพอ. ใหม่ เรื่องการขอตำแหน่งทางวิชาการ สร้างความตื่นตกใจกับบรรดาอาจารย์มหาวิทยาลัย หลายท่านเร่งขอตำแหน่งทางวิชาการ หลังจากที่รอไปรอมานานหลายปี แต่ปัญหา ที่หลายคนพบ คือ จะต้องเตรียมงานอะไร เท่าไร จึงจะพอ นอกจากชั่วโมงสอน และผ่านการประเมินการสอนแล้ว บทความนี้ จะอ้างถึงระเบียบเดิม เป็นหลัก เพราะจะใช้ไปจนถึง เดือนตุลาคม 2561 หากไม่มีประกาศเปลี่ยนแปลง
การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สำหรับผู้เป็นอาจารย์ประจำ มี 2 วิธีใหญ่ๆ คือ วิธีปกติ กับวิธีพิเศษ ซึ่งวิธีปกติ ผู้ขอจะต้องมีคุณสมบัติครบ ด้านวุฒิการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน ระยะเวลาหลังจากได้รับตำแหน่งเดิม อาทิเช่น จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ต้องปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ 2 ปี จึงจะมีคุณสมบัติขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ หรือ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ 3 ปี จึงจะขอกำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์ได้ เป็นรองศาสตราจารย์ 2 ปี จึงจะขอตำแหน่ง ศาสตราจารย์ได้ และจะต้องขอในศาขาเดิม เช่น เริ่มต้นเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาศัลยศาสตร์ ก็ต้องขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์สาขาศัลยศาสตร์ ต่อ หากจะเปลี่ยนสาขา เช่น เดิมเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาศัลยศาสตร์ แต่ภายหลัง ได้ทำงานด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน หากจะขอกำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จะต้องขอด้วยวิธีพิเศษ
การขอตำแหน่งด้วยวิธีปกติ ยังมี2วิธี คือวิธีที่ 1กับวิธีที่ 2 ซึ่งวิธีที่ 1 ใช้ ผลงานวิจัย/ผลงานทางวิชาการลักษณะอื่น(สิ่งประดิษฐ์) ร่วมกับ ตำรา/หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ(สำหรับการขอตำแหน่งระดับต้น) ส่วนวิธีที่ 2 ใช้ผลงานวิจัยเพียงอย่างเดียว หรือใช้ตำราเพียงอย่างเดียว
เมื่อ ได้รับตำแหน่ง ไม่ว่าจะมาด้วยวิธีที่ 1 วิธีที่ 2 หรือวิธีพิเศษ ผู้ได้รับตำแหน่ง จะได้ตำแหน่ง ที่เรียกว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ ตามลำดับ
การขอด้วยวิธีพิเศษ เป็นการขอที่ผู้้ขอมีคุณสมบัติไม่ครบ เช่น เวลาไม่ครบ ตามเกณฑ์ที่จะขอแบบปกติ หรือเป็นการขอแบบข้ามขั้น เช่น จากอาจารย์ เป็น รองศาสตราจารย์ จากผุ้ช่วยศาสตราจารย์ ข้ามไป ศาสตราจารย์เลย เป็นต้น หรือ เปลี่ยนสาขา การขอด้วยวิธีพิเศษ จำนวนผลงาน คุณภาพผลงาน จะมากกว่าการขอด้วยวิธีปกติ รวมถึงจำนวนผู้ประเมิน แทนที่จะเป็น 3คน ใช้เสียงส่วนใหญ่ เช่นการขอแบบปกติ จะต้องใช้ 5 คนใช้เสียง 4ใน5
ส่วน คำว่าผู้ช่วยศาสตราจาย์(พิเศษ) รองศาสตราจารย์(พิเศษ) หรือศาสตราจาย์(พิเศษ) เป็นตำแหน่งสหรับผู้ที่เป็นอาจารย์พิเศษ
สำหรับผลงานที่ใช้ ในการขอตำแหน่งระดับต่างๆ ตามระเบียบเดิม สรุปได้ดังนี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 
วิธีปกติ วิธีที่ 1

  • คุณภาพการสอน  ชำนาญ
  • เอกสาร การสอน คุณภาพ ดี 1 เรื่อง
  • งานวิจัย 2 เรื่อง โดย 1 เรื่องมีคุณภาพ ดี ผู้ขอ ต้องเป็นชื่อแรก และมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หรือ เป็น corresponding author ( มีหลักฐานระบุ ในวารสาร หรือจดหมายติดต่อกับบรรณาธิการ หรือเป็นผู้ขอทุน ขออนุมัติกรรมการวิจัยในคน) สำหรับ corresponding author ใช้เฉพาะผู้ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และควรได้รับส่วนแบ่งในผลงานนั้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 หากไม่มีผลงานที่ได้รับส่วนแบ่งถึงร้อยละ 50 แต่มีผลงานเป็นชุดโครงการ สามารถนำผลงานที่เป็นชุดโครงการ รวมส่วนร่วมมารวมกัน ได้ร้อยละ 50 โดยตนเอง ได้เป็น primary investigator ในบางโครงการ
  • อาจใช้ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น คือสิ่งประดิษฐ์ ที่ได้รับ สิทธิบัตร แทน งานวิจัยได้
  • บทความทางวิชาการ ลงพิมพ์ ในวารสาร ที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลู่ม 1 หรือ 2 หรือ ตำรา/ หนังสือ เป็นบท
วิธีปกติ วิธีที่ 2

  •  คุณภาพการสอน ชำนาญ 
  • เอกสารการสอน คุณภาพ ดี 1 เรื่อง
  • งานวิจัย 3 เรื่อง และ 2 เรื่อง อยู่ในเกณฑ์ ดี เป็นชื่อแรกและมีส่วนร่วม ร้อยละ 50 หรือเป็น corresponding author
  • การขอวิธีนี้ ไม่รับ บทความทางวิชาการ หรือ ตำรา/หนังสือ
วิธี พิเศษ

  • คุณภาพการสอน ชำนาญ
  • เอกสารการสอน คุณภาพ ดี 1 เรื่อง
  • งานวิจัย เหมือนกับวิธีปกติ คือ 3 เรื่อง แต่คุณภาพ ต้องดีมาก
  • การขอด้วยวิธีพิเศษ มีผู้ประเมิน 5 คน จะต้องได้คะแนน 4 ใน5

รองศาสตราจารย์
วิธีปกติ วิธีที่ 1

  • ผลการสอน คุณภาพ ชำนาญพิเศษ
  • เอกสารการสอน คุณภาพ ดี 1 เรื่อง
  • งานวิจัย 3 เรื่อง และ 1 เรื่อง คุณภาพ ดี โดยเป็นชื่อแรก และมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หรือ เป็น corresponding author หาก เป็นชุดโครงการ รวมกัน ได้ร้อยละ 50 โดยได้เป็น primary investigator บางโครงการ หากใช้ผลงานทางวิชาการลักษณะอื่น(สิ่งประดิษฐ์) ใช้ 1 ชิ้น ที่ได้สิทธิบัตร
  • บทความทางวิชาการ ต้องเป็น learned article ]พิมพ์ในวารสารที่มี impact factor  หรือ ตำรา/หนังสือ เป็นบท
แบบปกติ วิธีที่ 2

  • ผลการสอน คุณภาพ ชำนาญพิเศษ
  • เอกสารคำสอน  1 เรื่อง คุณภาพ ดี
  • งานวิจัย 5 เรื่อง และ 3 เรื่อง ที่เป็นชื่อแรก มีส่วนร่วมร้อยละ 50 อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก
วิธีพิเศษ

  • ผลงานเหมือน วิธีปกติ แต่คุณภาพ ดีมาก ผู้ประเมิน 5 ท่าน

ศาสตราจารย์
วิธีปกติ วิธีที่ 1
  • ผลการสอน เชี่ยวชาญ
  • งานวิจัย 5 เรื่อง และ 1 เรื่อง ที่เป็นชื่อแรก มีส่วนร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หรือเป็น corresponding author อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก ถ้าเป็นชุดโครงการ นำมารวมกัน ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และเป็น primary investigator บางโครงการ
  • สิ่งประดิษฐ์ ที่ได้สิทธิบัตร แทนงานวิจัยได้
  • ตำรา/หนังสือ 1 (ประมาณ 80หน้า) คุณภาพ ดีมาก
วิธีปกติ วิธีที่ 2
  • ผลการสอน เชี่ยวชาญ
  • งานวิจัย 5 เรื่อง2 เรื่องอยู่ในระดับนานาชาติ  และ 1 เรื่อง ที่เป็นชื่อแรก และมีส่วนร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 อยู่ในเกณฑ์ ดีเด่น
  • หรือ หากจะใช้ หนังสือ/ตำรา ไม่ใช้งานวิจัย ต้องอยู่ในเกณฑ์ ดีเด่น
วิธีพิเศษ
  • ผลการสอน เชี่ยวชาญ
  • งานวิจัย และ หนังสือ/ตำรา เหมือนการขอโดยวิธีที่ 1 แต่คุณภาพ ระดับดีเด่น รวมถึงผู้ประเมิน 5 ท่าน ใช้คะแนน 4ใน5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น