วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เกณฑ์ คุณภาพ ผลงานทางวิชาการ

คงได้ยินอยู่บ่อยๆ เรื่องเกณฑ์คุณภาพผลงานทางวิชาการ ดี ดีมาก ดีเด่น ในบทความนี้จึงจะสรุปเกณฑ์ ต่างมาเป็นแนวทาง ว่า การที่ผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้ในการประเมิน และสรุปผลในแต่ละผลงานว่าอยู่ในเกณฑ์ใด มีหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาอย่างไร
บทความทางวิชาการ หมายถึงงานเขียนที่มีการกำหนดประเด็นล่วงหน้า และอธิบายประเด็นนั้น มีการวิเคราะห์ชัดเจนตามหลักวิชาการ อาจนำความรู้มาจากหลายแหล่งมาประมวลกัน แล้ววิเคราะห์จนได้ข้อสรุป รวมถึงมีข้อสังเกต และทัศนะของผู้เขียน มีการอ้างอิงครบถ้วน  การเผยแพร่ อาจจะเป็นในรูปแบบของวารสารสิ่งพิมพ์ หรือโดยสื่อ อีเลคโทรนิคส์ หรือรวมในหนังสือประมวลบทความในการประชุมวิชาการ ที่เรียกว่า proceedings

  • ดี หมายถึง บทความมีเนื้อหาทางวิชาการถูกต้อง สมบูรณ์ ทันสมัย มีการนำเสนอชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
  • ดีมาก ต้องผ่านเกณฑ์ ดีก่อน แล้วมีสิ่งเพิ่มเติม คือ มีการวิเคาระห์และเสนอความรู้ หรือสิ่งที่ทันสมัยต่อวงวิชาการ และสามารถนำไปอ้างอิงปฏิบัติได้
  • ดีเด่น ต้องผ่านเกณฑ์ดีมากมากาอน และต้องมีสิ่งเพิ่มเติมคือ มีลักษณะงานบุกเบิกทางวิชาการ มีการสังเคราะห์จนเกิดองค์ความรู้ใหม่ มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ ระดับชาติหรือนานาชาติ
ข้อสังเกต บทความทางวิชาการ ต่างจากงานวิจัย ซึ่งมีขบวนการวิจัยเป็นรากฐาน ตามสาขาวิชานั้นๆ ผลการพิจารณาให้เกณฑ์ดี ดีมาก จะต้องมีผลการวิจัยของตนเองประกอบ หรือทำงานด้านนั้นๆมานาน จนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ แทรกความคิดเห็นได้ ยิ่งถ้าเป็นเกณฑ์ระดับดีเด่น จะต้องพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศ
ตำรา หมายถึงผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างมีระบบ ครอบคลุมเนื้อหาวิชา หรือส่วนหนึ่งของวิชา ตามหลักสูตร ในการเรียนการสอนระดัมอุดมศึกษา มีความทันสมัยนับถึงวันยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ  จะต้องระบุระหัสวิชาที่ตำราใช้ในการเรียนการสอน  มีการพิมพ์เผยแพร่เป็นเล่ม หรือในรูปอีเลคโทรนิคส์ มีองค์ประกอบคือ คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง สรุป การอ้างอิง และดัชนีค้นคำ เป็นต้น ระยะเวลาที่นำมาใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการต้องผ่านการเผยแพร่มา อย่าน้อย1 ภาคการศึกษา

  • ดี หมายถึง มีเนื้อหา สาระทางวิชาการถูกต้อง สมบูรณ์ ทันสมัย มีแนวความคิดนำเสนอที่ชัดเจน เหมาะสมกับการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา
  • ดีมาก ต้องผ่านเกณฑ์ ดี มาก่อน แล้วมีสิ่งที่เพิ่มขึ้นมา คือ มีการวิเคราะห์ เสนอความรู้ที่ทันสมัย มีการสอดแทรกความคิดริเริ่ม ประสบการณ์ หรือผลงานวิจัยของผู้เขียน และสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้
  • ดีเด่น ผ่านเกณฑ์ ดีมากมาก่อน และต้องมีสิ่งที่เพิ่มคือ เป็นลักษณะการบุกเบิกทางวิชาการ และมีการสังเคราะห์จนเกิดองค์ความรู้ใหม่ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทำให้เกิดการกระตุ้นให้มีแนวความคิดต่อเนื่อง เป็นที่เชื่อถือยอมรับในวงวิชาการ วงวิชาชีพ ระดับชาติ หรือนานาชาติ 
ข้อสังเกต ตำรา จะต้องผูกติดกับหลักสูตรการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา หากไม่สามารถระบุระหัสวิชาที่ใช้เรียนใช้สอนได้ จะไม่เรียกว่าตำรา แต่เรียกว่าหนังสือ ถึงแม้ว่า ชื่อจะระบุว่า เป็นตำรา ก็ตาม การได้รับเชิญ ไปเขียนตำราในมหาวิทยาลัยอื่น มีระหัสวิชาของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ในเมื่อไม่มีระหัสวิชาของมหาวิทยาลัยเรา กำกับ ก็ถือเป็นหนังสือ
หนังสือ เป็นเอกสารทางวิชาการ ที่เรียบเรียงขึ้นมาบนพื้นฐานความรู้มางวิชาการ มีทัศนะของผู้เขียน สร้างเสริมภูมปัญญาและแนวคิด แก่ผู้อ่าน โดยไม่ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน แต่เหมาะกับผู้อ่านระดับอุดมศึกษา เผยแพร่เป็นรูปเล่ม หรือสื่ออีเลคโทรนิคส์ และผ่านการเผยแพร่มาไม่น้อยกว่า 4 เดือน จึงจะนำมาใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการได้

  • ดี หมายถึง มีเนื้อหา สาระทางวิชาการถูกต้อง สมบูรณ์ ทันสมัย มีการนำเสนอแนวความคิดชัดเจนต่อวงวิชาการ
  • ดีมาก ผ่านเกณฑ์ดี มาก่อน และต้องมีการวิเคราะห์ สอดแทรกความคิดริเริ่ม ประสบการณ์ หรืองานวิจัยของผู้เขียน สามารถนำไปใช้ นำไปปฏิบัติได้
  • ดีเด่น ผ่านเกณฑ์ ดีมากก่อน และมีสิ่งที่เพิ่มขึ้นมา คือ มีลักษณะของการบุกเบิกทางวิชาการจนเกิดองค์ความรู้ใหม่ มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการระดับชาติ นานาชาติ 
ข้อสังเกต ตำรากับหนังสือ หากจะให้ได้เกณฑ์ ดีมาก ดีเด่น  จะต้องมีการอ้างอิงงานวิจัยของผู้เขียน
งานวิจัย เป็นผลงานทางวิชาการ ที่เป็นงานศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบวิธีการวิจัย ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ มีวัตถุประสงค์ที่จะตองคำถามใดๆอย่างชัดเจน มีการหาข้อมูล รวบรวมมาอย่างมีระบบ  มีการวิเคราะห์ข้อมูล ให้ได้ข้อสรุป นำไปสู้ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำไปประยุกต์ รูปแบบการนำเสนอ อาจจะเผยแพร่เป็นบทวิจัย ในวารสาร ทั้งที่เป็นรูปแบบการพิมพ์ หรือสื่ออีเลคโทนรนิคส์ หรือเป็นรายงานการวิจัยก็ได้ หรือนำเสนอในการประชุมวิชาการแล้วมีการรวบรวมเป็นบทความวิจัย(proceedings) ของการประชุม หรือเป็นการนำเสนอในรูปแบบ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ

  • ดี หมายถึง เป็นการวิจัย ที่ทำถูกต้องตามขั้นตอน เหมาะสม ระเบียบวิธีวิจัยถูกต้อง แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการ
  • ดีมาก ผ่านเกณฑ์ ดี มาก่อน และมีสิ่งที่เพิ่มคือ ต้องแสดงถึงการวิเคาระห์และนำเสนอผล เป็นความรู้ใหม่ ที่ลึกซึ้งกว่างานเดิม ที่มีผู้ทำมาก่อน 
  • ดีเด่น ผ่านเกณฑ์ ดีมากมาก่อน และมีสิ่งที่เพิ่มคือ เป็นงานบุกเบิก มีการสังเคาระห์จนเกิดองค์ความรู้ใหม่ เป็นที่ยอมรับ อ้างอิง ในวงวิชาการระดับชาติ และ/หรือ นานาชาติ
ข้อสังเกต การวิจัยจะต้องมีขบวนการทำวิจัย ที่สอดคล้องกับวิชาการสาขานั้นๆ การทำวิจัยเลียนแบบผู้อื่น ที่ไม่ได้ทำให้ดีกว่า ไม่ถือเป็นเกณฑ์ดีมาก และหากไม่ได้เกิดความรู้ใหม่ หรือไม่ได้ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ โอกาสน้อยที่จะถึงเกณฑ์ ดีเด่น
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ไม่ใช่ผลงานทางวิชาการที่ปรากฏออกมาเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น งานวิจัย บทความ ตำรา หรือหนังสือ ทั้งที่เป็นรูปเล่ม หรือรูปสื่ออีเลคโทรนิคส์ โดยปกติ หมายถึงสิ่งประดิษฐ์ หรืองานสร้างสรรค์ เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก วัคซีน ผลงานศิลปะ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเผยแพร่่ใช้งานมีได้หลายรูปแบบที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของงานนั้นๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การสาธิต การแสดง เป็นต้น หากเป็นสิ่งประดิษฐ์ ต้องมีสิทธิบัตรยืนยัน การนำเสนอเพื่อใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ นอกจากจะแสดงถึงแนวความคิด การใช้งานแล้ว จะต้องแสดงให้เห็นถึงความแพร่หลาย เช่นหากเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ ก็ต้องมีผู้อื่นนำไปใช้งานด้วย

  • ดี หมายถึง เป็นงานใหม่ หรือมีการประยุกต์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว เกิดประโยชน์แก่วงวิชาการด้านใดด้านหนึ่ง
  • ดีมาก ผ่านเกณฑ์ ดี แล้ว มีสิ่งเพิ่มคือ มีการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ดีเด่น ผ่านเกณฑ์ ดีมาก และเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ ระดับชาติและ/หรือ นานาชาติ

ข้อสังเกต ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ในความหมายทั่วไปคือสิ่งประดิษฐ์ หากไม่มีสิทธิบัตรยืนยัน จะไม่ผ่านเกรฑ์ ดีมาก ไม่สามารถผ่านการประเมินในการขอกำหนดตำแหน่งวิชาการระดับสูงได้
งานแปล เป็นการแปลวรรณกรรม จากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง เมื่อแปลแล้วเกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ จะแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย หรือไทยเป็นภาษาต่างประเทศ การแปลจะต้องแปลตามเนื้อหาเดิมที่ผู้เขียนเขียนไว้ หากจะมีการแทรกความคิดเห็นของผู้แปล จะต้องแยกส่วนต่างหารให้ชัดเจนว่า ไม่ใช่ข้อความเดิมจากผู้เขียน เช่น มีกรอบที่ชัดเจน

  • ดี มีความเข้าใจในตัวบท แนวความคิด มีความสามารถในการสื่อความหมาย 
  • ดีมาก ผ่านเกณฑ์ ดี แล้วมีสิ่งที่เพิ่มคือ มีความเข้าใจในตังบทอย่างลึกซึ้ง มีความสามารถในการสื่อความหมายระดับสูงมีการศึกษาวิเคราะห์ละเอียดลึกซึ้ง
  • ด้เด่น ผ่านเกณฑ์ ดีมากและมีสิ่งเพิ่มเติมคือ แปลจากต้นฉบับที่มีความสำคัญ มีผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงวิชาการ เป็นลักษณะ เป็นการบุกเบิกทางวิชาการ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น