วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560

แนวทางการประเมินหนังสือ/ตำรา

จากประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสเป็นผู้ทรงคุณวุฒฺประเมินการจองตำแหน่งทางวิชาการ ร่วมกับได้ร่วมประชุมกับท่านอื่นๆ พอจะสรุปแนวทางที่ผู้ทรงคุณวุฒิใช้ในการประเมิน ตำรา/หนังสือ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการระดับสูงได้พอสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เตรียมตัวทำหนังสือ/ตำรา ได้ใช้เป็นแนวทาง

  • เนื้อหา สาระวิชาการถูกต้อง ตรงตามชื่อเรื่อง 
  • อ้างอิง เนื้อหาทางวิชาการสมบูรณ์ ถูกต้อง ทันสมัย ไม่ได้กล่าว ข้อความทางวิชาการขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีแหล่งที่มา หรืออ้างอิงโดยไม่น่าเชื่อถือ พยายามเลี่ยง การอ้างอิงด้วย "personal communication" หรือ "unpublished data" เว้นแต่การเขียนเชิงประวัติศาสตร์ ส่วนการเขียนเชิงวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิทยาศาสตร์สุขภาพ จะต้องมีหลักฐานอ้างอิง 
  • การอ้างอิงเอกสารใด ผู้เขียนจะต้องอ่านเอกสารนั้นให้ครบถ้วย ไม่ใช่อ้างต่อๆกันมา บางครั้งคนก่อนๆ อ้างผิดพลาด ก็ทำให้ผิดพลาดต่อเนื่องอีกจนจับต้นชนปลายไม่ถูก
  • เนื้อหา มีระบบ ระเบียบ ที่เป็นประโยชน์ สำหรับผู้อ่านระดับอุดมศึกษา ไม่ใช่เป็นความรู้สำหรับประชาชนทั่วไป หรือ นักเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา
  • มีการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ ข้อมูลทางวิชาการ ไม่ใช่ แปลมา หรือ เพียงนำข้อมูลต่างๆมานำเสนอให้ผู้อ่านคิดเอง
  • มีการสอดแทรกประสบการณ์ งานวิจัยของผู้เขียน โดยสอดแทรกอย่างเหมาะสม ไม่พยายามสอดแทรกทั้งๆที่เนื้อหาที่เขียนไม่ได้เอ่ยตึงประเด็นนั้นๆ
  • มีข้อสรุปที่ผู้อ่านสามารถนำไปปฏิบัติต่อได้ หรือใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้
  • หากมีลักษณะเป็นการบุกเบิกทางวิชาการด้านใดด้านหนึ่ง จะดีมาก
  • มีการกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความคิดต่อเนื่อง และมีความน่าเชื่อถือ
  • เนื้อหาต้องไม่น้อยเกินไป หนังสือประเภท atlas ที่ไม่มีเนื้อหามากพอ หรือ manual คุณภาพมักไม่ผ่านเกณฑ์ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น