วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ความหมาย ตำรา และหนังสือ

ตำราและหนังสือทางวิชาการ มีลักษณะที่แทบจะเหมือนกัน คือเป็นเอกสารทางวิชาการที่เขียนขึ้นมาโดยมีรากฐานทางวิชาการกำกับ มีเนื้อหาสาระที่ครบถ้วน เสริมสร้างแนวความคิด ให้ผู้อ่าน ซึ่งตำรา หรือหนังสือ สามารถใช้ประกอบในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ในทุกระดับ ซึ่งตามระเบียบเดิมของ กพอ. การขอกำหนดตำแหน่งในระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ , รองศาสตราจารย์ ใช้หนังสือ หรือตำรา เป็นบท และ ระดับศาสตรารจาร์ใช้ตำราเป็นเล่ม (ประมาณ 80หน้า ของตำราขนาดมาตรฐาน) แต่ในระเบียบ กพอ.ใหม่ ที่จะมีผลบังคับ ในเดือน พฤศจิกายน 2561 กำหนดเป็นเล่มในการขอตำแหน่งวิชาการทุกระดับ
 วัตถุประสงค์ของผู้อ่านตำรา/หนังสือจะต้องเพื่อการศึกษาระดับอุดมศึกษา จึงจะนำมาใช้ประกอบในการขอกำหนดตำแหน่งทางในมหาวิทยาลัยได้
ความแตกต่างของคำจำกัดความ ของตำรากับหนังสือ อยู่ที่ ตำรา จะต้องสามารถระบุ ระหัสวิชาและหลักสูตรที่ใช้ประกอบการสอน หาก เป็นเนื้อหาที่ไม่สามารถระบุระหัสวิชาได้ คือ เป็นความรู้ที่เกินเลยจากเนื้อหาวิชา ที่กำหนดหัวข้อหลักสูตร ก็จะเรียกว่าหนังสือ ถึงแม้ว่า จะพิมพ์ที่หน้าปกว่า "ตำรา" ก็ตาม ก็จัดกลุ่มเป็นหนังสือ ดังนั้น หากเขียนตำราให้มหาวิทยาลัยอื่น ซึ่งมีระหัสวิชาของมหาวิทยาลัยนั้นกำกับอยู่ แต่เมื่อกลับมาใช้ขอตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัยมหิดล จะจัดเป็นหนังสือ เพราะไม่มีระหัสวิชาของมหาวิทยาลัยมหิดลกำกับ
ส่วนคำจำกัดความ ของคำว่าบทนั้น ยังไม่สามารถระบุได้ แต่ขึ้นกับ การตั้งหัวข้อในการเขียน หากตั้งไว้แคบ ก็จะจบเร็ว หากกว้างก็จะมีจำนวนหน้ามาก อย่างไรก็ดี จะต้องครบถ้วน อ่านเข้าใจ บรรลุตามวัตถุประสงค์และหัวข้อที่ตั้งไว้
จะเขียน ตำรา หรือหนังสือ เวลา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณา จะมีนำ้หนักและคุณค่าในการเข้าสู่ตำแหน่ง ไม่ต่างกัน ส่วนใหญ่ จะขึ้นกับการทำเพื่อจำหน่ายมากกว่า เพราะหากทำตำรา มีระหัสวิชากำหนดอยู่ ผู้เรียนระหัสวิชานั้นๆ จะเป็นลูกค้าหลักในการซื้อตำราไปประกอบการเรียนvachira.koc@mahidol.edu

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น